วันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2556

สาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต
(Democratic Republic of Timor-Leste)



          ติมอร์-เลสเต หรือ ติมอร์ตะวันออก มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต เป็นประเทศที่ตั้งอยู่บนเกาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประกอบด้วยเกาะติมอร์ด้านตะวันออก เกาะอาเตาโรและเกาะจาโก ที่อยู่ใกล้เคียง และเขตโอเอกูซี ซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของเกาะติมอร์ ติมอร์ตะวันออกถูกล้อมรอบโดยพื้นที่ของประเทศอินโดนีเซีย

      แต่เดิมประเทศติมอร์-เลสเตถูกปกครองโดยประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งได้ยึดครองติมอร์ตะวันออกเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศ และในปี พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) ติมอร์ตะวันออกได้แยกตัวเป็นอิสระ และได้รับเอกราชอย่างเต็มตัวเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2545  เมื่อประเทศติมอร์ตะวันออกเข้าร่วมองค์การสหประชาชาติในปีเดียวกัน ก็ได้ตกลงว่าจะเรียกประเทศอย่างเป็นทางการว่า "ติมอร์-เลสเต" ซึ่งเป็นชื่อในภาษาโปรตุเกส


                                                           
                                ธงชาติ ประเทศติมอร์ตะวันออก                         ตราแผ่นดินของติมอร์ตะวันออก

                                                                     ประวัติศาสตร์
        เมื่อรัฐบาลอินโดนีเซียยินยอมให้ชาวติมอร์ตะวันออกลงประชามติเพื่อแยกตัวเป็นเอกราชจากอินโดนีเซีย ในวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2542 ประชาชนชาวติมอร์ตะวันออกกว่าร้อยละ 80 ออกเสียงสนับสนุนการแยกตัวเป็นเอกราช จึงก่อให้เกิดเหตุการณ์รุนแรงในติมอร์ตะวันออกโดยกลุ่มกองกำลังมิลิเทีย ความวุ่นวายได้เริ่มขึ้นในติมอร์-เลสเตเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2549 หลังจากที่การชุมนุมเพื่อสนับสนุนทหารติมอร์-เลสเต 600 นาย ซึ่งถูกปลดออกจากราชการเนื่องจากหนีทัพกลายเป็นการจลาจลที่มีผู้เสียชีวิต 5 คน และมีมากกว่า 20,000 คนที่หนีจากบ้านของตัวเอง การต่อสู้อันรุนแรงระหว่างทหารที่สนับสนุนรัฐบาลกับทหารฟาลินติลที่ไม่พอใจได้เกิดขึ้นเมื่อ พฤษภาคม 2549 แม้ว่าจะยังไม่มีความชัดเจน แรงจูงใจเบื้องหลังการต่อสู้ คาดว่าจะเป็นการกระจายของกองทุนน้ำมัน และการจัดการไม่ดีของกองทัพและตำรวจติมอร์-เลสเต ซึ่งรวมถึงตำรวจอินโดนีเซียเดิมและกบฏติมอร์เดิม นายกรัฐมนตรีมารี อาลกาตีรี ได้เรียกความรุนแรงนี้ว่าเป็นการรัฐประหาร และได้ยอมรับความช่วยเหลือจากกองทัพจากต่างประเทศหลายชาติ ณ วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ประเทศออสเตรเลีย โปรตุเกส นิวซีแลนด์ และมาเลเซียได้ส่งทหารไปยังติมอร์ เพื่อปราบปรามความไม่สงบ


วิกฤตการเมืองพ.ศ. 2549
                   ความวุ่นวายได้เริ่มขึ้นในติมอร์ตะวันออกเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2549 หลังจากที่การชุมนุมเพื่อสนับสนุนทหารติมอร์ตะวันออก 600 นาย ซึ่งถูกปลดออกจากราชการเนื่องจากหนีทัพกลายเป็นการจลาจลที่มีผู้เสียชีวิต 5 คน และมีมากกว่า 20,000 คนที่หนีจากบ้านของตัวเองการต่อสู้อันรุนแรงระหว่างทหารที่สนับสนุนรัฐบาลและทหารฟาลินติลที่ไม่พอใจได้เกิดขึ้นเมื่อ พฤษภาคม 2549 แม้ว่าจะยังไม่มีความชัดเจน แรงจูงใจเบื้องหลังการต่อสู้ คาดว่าจะเป็นการกระจายของกองทุนน้ำมัน และการจัดการไม่ดีของกองทัพและตำรวจติมอร์ ซึ่งรวมถึงตำรวจอินโดนีเซียเดิม และกบฎติมอร์เดิม นายกรัฐมนตรี มารี อัลกาติรี ได้เรียกความรุนแรงนี้ว่าเป็นการรัฐประหาร และได้ยอมรับความช่วยเหลือจากกองทัพจากต่างประเทศหลายชาตณ วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ประเทศออสเตรเลีย โปรตุเกส นิวซีแลนด์ และมาเลเซียได้ส่งทหารไปยังติมอร์ เพื่อปราบปรามความไม่สงบ  เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2549 ประธานาธิบดีซานานา กุสเมา ได้ขอร้องอย่างเป็นทางการให้นายกรัฐมนตรีมารี อัลคาทีรี ลาออก ซึ่งสมาชิกพรรคเฟรติลินส่วนใหญ่ได้ข้อรองให้นายกรัฐมนตรีลาออก โดยกล่าวหาว่า ได้พูดเท็จเกี่ยวกับการกระจายอาวุธให้พลเรือนเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2549 นายกรัฐมนตรีมารี อัลกาติรี ได้ลาออกโดยกล่าวว่า เป็นไปเพื่อหลีกเลี่ยงการลาออกของประธานาธิบดีโจ
                                                                                                                                                                                 นายกรัฐมนตรี คนปัจจุบันของติมอร์-เลสเต คือชูเซ รามุส-ออร์ตา ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่เมื่อ วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2549




                                                                    การแบ่งเขตการปกครอง


              แผนที่แสดงเขตต่าง ๆ ของประเทศติมอร์ตะวันออกแบ่งเขตการปกครองเป็น 13 เขต (administrative districts) ดังนี้
             1. เขตเลาเตง
             2. เขตเบาเกา
             3. เขตวีเกเก
             4. เขตมานาตูโต
             5. เขตดิลี
             6. เขตไอเลอู
             7. เขตมานูฟาอี
             8. เขตลีกีซา
             9. เขตเอร์เมรา
            10. เขตไอนาโร
            11. เขตโบโบนาโร
            12. เขตโกวา-ลีมา
            

            13. เขตโอเอกูซี

เมืองหลวง  ดิลี 

ภาษาราชการ ภาษาเตตุมและภาษาโปรตุเกส

รัฐบาล สาธารณรัฐ

สกุลเงิน ดอลลาร์สหรัฐ

ภูมิศาสตร์                ประเทศติมอร์ตะวันออกเป็นประเทศหมู่เกาะ จัดเป็นเกาะในกลุ่มเกาะอินโดนีเชีย เรียกว่า เกาะติมอร์ ด้วยเงื่อนไขทางภูมิศาสตร์ที่เป็นเกาะขนาดเล็ก เกาะติมอร์ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศออสเตรเลีย และอยู่ห่างจากกรุงจาการ์ตาของประเทศอินโดนีเซียไปทางตะวันออกประมาณ 2,100 กิโลเมตร ประเทศติมอร์ตะวันออกประกอบไปด้วยดินแดนส่วนปลายด้านตะวันออกของเกาะติมอร์ และมีดินแดนส่วนแยกเขตโอกุสซีที่ตั้งอยู่บนชายฝั่งทางตอนเหนือของติมอร์ตะวันตกซึ่งอยู่ในการปกครองของประเทศอินโดนีเซีย

ภูมิอากาศ

          ประเทศติมอร์ตะวันออกมีเพียงสองฤดู เช่นเดียวกับทางภาคใต้ของประเทศไทย คือมีฤดูฝน และฤดูแล้งเหมือประเทศไทยภูมิอากาศบางแห่งมีภูมิอากาศแบบสะวันนา ด้วยเหตุที่ได้รับลมแล้งจากทะเลทรายทางตอนเหนือของประเทศออสเตรเลีย ทรัพยากรทางธรรมชาติของติมอร์ตะวันออกคือ น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ ซึ่งอาจมีมากไม่แพ้ประเทศบรูไนที่อยู่ในทะเลลึกที่เรียกว่า Timor Gap ซึ่งอยู่ครึ่งทางระหว่างติมอร์ตะวันออกกับประเทศออสเตรเลีย ส่วนพืชเศรษฐกิจที่สำคัญได้แก่ กาแฟ มะพร้าว โกโก้ ข้าวโพด และปศุสัตว์ที่สำคัญได้แก่ โค กระบือ แกะ ม้า และทรัพยากรสัตว์น้ำที่มีอยู่มากมาย


เศรษฐกิจ
            การค้าการลงทุนในติมอร์ตะวันออกที่มีศักยภาพ คือ ไร่กาแฟ การประมง ธุรกิจการท่องเที่ยว รวมถึงแหล่งทรัพยากรประเภทน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติในเขต Timor Gap ซึ่งอยู่ระหว่างติมอร์-เลสเตกับออสเตรเลีย อย่างไรก็ดี ธุรกิจเหล่านี้ยังจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาและการสนับสนุนด้านการเงินจากนักลงทุนภายนอกอยู่มาก เนื่องจากติมอร์-เลสเตยังขาดเงินทุน และชาวติมอร์-เลสเตยังขาดทักษะในการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

ประชากร
         ประเทศติมอร์-เลสเตมีประชากรประมาณ 1,040,880 คน โดยประชากรมีความหลากหลายทางด้านชาติพันธุ์ และภาษาที่มีถึง 30 กลุ่ม โดยต่างคนต่างอยู่ นอกจากนี้ยังมีชุมชนชาวติมอร์เชื้อสายจีน และคนไทยในกรุงดิลี ส่วนภาษาทางการนั้นไม่เป็นที่ตกลงแน่นอนว่าจะใช้ภาษาใดเป็นภาษาทางการ แต่ภาษาที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในติมอร์-เลสเต คือ ภาษาเตตุม ภาษาโปรตุเกส ภาษาอินโดนีเซีย และภาษาอังกฤษ โดยสองภาษาหลังนี้ทางการถือเป็นภาษาปฏิบัติการ นอกจากนี้ยังมีภาษาของชนเผ่าพื้นเมืองต่าง ๆ ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ

วัฒนธรรม
         ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ตามชนบท โดยส่วนมากยังทำการเกษตรแบบดั้งเดิมและพึ่งพาตนเอง มีการศึกษาต่ำ มีการจับปลาและเลี้ยงสัตว์ ผู้คนส่วนใหญ่ค้าขายไม่เป็น ไม่มีความรู้เกี่ยวกับอุตสาหกรรม เครื่องจักรกล แต่ชาวติมอร์-เลสเตนั้นมีความเคารพในระบบอาวุโส มีระบบเครือญาติที่แข็งแกร่ง รักพวกพ้อง รักขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิม โดยสตรีชาวติมอร์-เลสเตนั้นจะทำงานหนักในขณะที่บุรุษมักไม่ค่อยช่วยงานบ้าน


ศาสนา
                
        นับถือศาสนาคริสต์ โดยแยกเป็นสองนิกายหลัก คือ นิกายโรมันคาทอลิก มีศาสนิกกว่าร้อยละ 96 ส่วนนิกายโปรเตสแตนต์นั้นมีร้อยละ 2.2 มีส่วนน้อยนับถือศาสนาอิสลามซึ่งส่วนใหญ่เป็นแบบซุนนี นอกนั้นนับถือศาสนาพุทธ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และอื่น เล่น อะไร ก็ ไม่รู้ บ้า


อ้างอิง :
th.wikipedia.org


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น